tradingkey.logo

WTI ยังคงทรงตัวในการปรับตัวขาขึ้นเล็กน้อยในระหว่างวันใกล้ระดับสูงสุดลายวัน ใต้ระดับ $82.00 เล็กน้อย

11 ก.ค. 2024 เวลา 10:26
  • WTI ดึงดูดแรงตลาดผู้ซื้อเป็นวันที่สองติดต่อกัน และได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน
  • การลดลงของจำนวนสินค้าคงคลังของสหรัฐฯ ความกังวลเรื่องการหยุดชะงักของอุปทาน และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เป็นแรงหนุนสําหรับราคา้ำมัน
  • ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจของจีนอาจจํากัดการปรับตัวขึ้นต่อ ก่อนรายงานดัชนี CPI ที่สําคัญของสหรัฐฯ ในวันนี้

ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นจากการฟื้นตัวในช่วงข้ามคืนจากบริเวณระดับ 80.00 ดอลลาร์ หรือระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์และได้รับแรงฉุดเชิงบวกตามมาในช่วงเซสชั่นเอเชียของวันพฤหัสบดี การปรับตัวเพิ่มขึ้นได้รับแรงหสนุนจากการรวมกันของหลายปัจจัยและดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายวัน โดยอยู่ที่ประมาณ $82.00 ในชั่วโมงการซื้อขายที่แล้ว

องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ยังคงคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกจะเติบโตอย่างค่อนข้างแข็งแกร่งในปีนี้และปีหน้า นอกจากนี้สํานักงานข้อมูลด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง 3.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 445.1 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 5 ก.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก ปัจจัยนี้ถูกมองว่าหนุนราคาน้ำมันดิบท่ามกลางการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ (USD) เล็กน้อย

Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในระหว่างการแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรสกล่าวว่า สหรัฐฯ ยังคงอยู่ในเส้นทางสู่ระดับราคาที่มีเสถียรภาพและการว่างงานที่ต่ำอยู่อย่างต่อเนื่อง ความคิดเห็นดังกล่าวตอกย้ำการคาดการณ์ของตลาดว่าเฟดจะลดต้นทุนการกู้ยืมในเดือนกันยายนและปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม  แนวโน้มดังกล่าวทําให้สภาวะตลาดกระทิงของ USD ต้องเป็นฝ่ายรับแรงกดดัน และยังดูเหมือนว่าจะเป็นอานิสงส์ต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ในสกุลเงิน USD ซึ่งรวมถึงราคาน้ำมันดิบด้วย

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของอุปทานที่เกิดจากสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลาง ก็ได้กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนสภาพคล่องของน้ำมัน ในขณะที่ข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอจากจีนซึ่งเป็นประเทศผู้นําเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเทรดเดอร์อาจต้องการรอการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ  ก่อนที่จะวางออเดอร์เก็งการเคลื่อนไหวในทิศทางถัดไป

 

คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำมันดิบ WTI

น้ำมัน WTI คืออะไร?

น้ำมัน WTI เป็นน้ำมันดิบประเภทหนึ่งที่จําหน่ายในตลาดต่างประเทศ WTI ย่อมาจาก West Texas Intermediate ซึ่งเป็นหนึ่งในน้ำมันสามประเภทหลัก ได้แก่ Brent และ Dubai Crude และ WTI โดยตัว WTI เรียกอีกอย่างว่าน้ำมัน "เบา" และน้ำมัน "หวาน" เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงและปริมาณกํามะถันค่อนข้างต่ำ ตามลําดับถือเป็นน้ำมันคุณภาพสูงที่กลั่นได้ง่าย มีแหล่งที่มาในสหรัฐอเมริกาและจัดจําหน่ายผ่านศูนย์กลาง Cushing ซึ่งถือเป็น "เส้นทางเดินน้ำมันหลักของโลก" เป็นเกณฑ์มาตรฐานสําหรับตลาดน้ำมันและราคาของน้ำมัน WTI มักถูกอ้างอิงในสื่อ

ปัจจัยใดที่ผลักดันราคาน้ำมัน WTI?

เช่นเดียวกับสินทรัพย์ทั้งหมด อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของราคาน้ำมัน WTI ด้วยเหตุนี้ การเติบโตทั่วโลกจึงเป็นตัวขับเคลื่อนอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และในทางกลับกันสําหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอ ความไม่มั่นคงทางการเมือง สงคราม และการคว่ำบาตรต่าง ๆ อาจสามารถกดดันอุปทานและส่งผลกระทบต่อราคา ด้านการตัดสินใจของกลุ่มโอเปก ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนราคาที่สําคัญ และมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐก็มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดิบ WTI เนื่องจากเป็นน้ำมันมีการซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอาจทําให้น้ำมันมีราคาถูกลงมากขึ้น และในทางกลับกันด้วยเช่นกัน

ข้อมูลสินค้าคงคลังส่งผลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร

รายงานสินค้าคงคลังน้ำมันรายสัปดาห์ที่เผยแพร่โดยสถานบันปิโตรเลียมของอเมริกา หรือ American Petroleum Institute (API) และสำนักงานข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานหรือ Energy Information Agency (EIA) ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI  โดยการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าคงคลังสะท้อนถึงอุปสงค์และอุปทานที่ผันผวน หากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังลดลงอาจบ่งบอกถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น สินค้าคงเหลือที่สูงขึ้นสามารถสะท้อนถึงอุปทานที่เพิ่มขึ้น โดยรายงานของ API จะเผยแพร่ทุกวันอังคารและ EIA ในถัดไป ผลลัพธ์ของรายงานเหล่านี้มักจะคล้ายกันโดยแตกต่างกันภายใน 1% ของกันและกัน ในโอกาสราว ๆ 75%  ข้อมูลจาก EIA ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่าเนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ

OPEC มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร?

OPEC (หรือองค์การบริหารน้ำมันปิโตรเลียมของประเทศกลุ่มนักส่งออก - Organization of the Petroleum Exporting Countries) เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 13 ประเทศที่ร่วมกันกําหนดโควตาการผลิตสําหรับประเทศสมาชิกในการประชุมปีละสองครั้ง การตัดสินใจขององค์กรนี้มักส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI เมื่อโอเปกตัดสินใจลดโควต้าการผลิตอาจทําให้อุปทานตึงตัว ผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น แต่เมื่อโอเปกเพิ่มการผลิตก็มีผลตรงกันข้าม OPEC+ หมายถึงกลุ่มขยายที่มีสมาชิกนอกโอเปกเพิ่มอีกสิบประเทศ โดยประเทศที่โดดเด่นที่สุดก็คือรัสเซีย

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เนื้อหาข้างต้นทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา ไม่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อขายและไม่ควรเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจซื้อขายใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง