tradingkey.logo

วิเคราะห์ราคา WTI: พักฐานเหนือแดนกลางของโซน $82.00 ศักยภาพของการวิ่งขาขึ้นดูจะแข็งแรง

3 ก.ค. 2024 เวลา 7:38
  • WTI พยายามอย่างยากลำบากเพื่อให้เห็นแรงฉุดที่เพียงพอ แม้ว่าแนวโน้มดูเหมือนจะเอียงไปทางขาขึ้นเล็กน้อย
  • ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทําให้เกิดความกังวลด้านอุปทานและกลายเป็นแรงหนุนให้ราคาน้ำมัน
  • ปัจจัยทางเทคนิคยังได้ชี้ให้เห็นว่าเส้นทางที่มีแรงต้านน้อยที่สุดสําหรับราคาน้ำมัน อยู่ในขาขึ้น

ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในระหว่างวันของวันพุธและแกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ ในช่วงเซสชั่นเอเชีย ปัจจุบันสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวซื้อขายที่บริเวณระดับ $82.65-$82.70 โดยแทบไม่เปลี่ยนแปลงในรายวัน และยังคงอยู่ในระยะการเข้าใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ที่ไปแตะระดับในวันก่อน

นักลงทุนยังคงกังวลว่าความขัดแย้งในวงกว้างในตะวันออกกลางอาจขัดขวางอุปทานจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่าง ๆ ที่สําคัญ ปัจจยนี้ร่วมกับการเริ่มต้นฤดูพายุเฮอริเคนที่รุนแรงมากในสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําหน้าที่เป็นแรงหนุนสําหรับราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวในการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอาจรั้งนักลงทุนตลาดกระทิงไม่ให้วางเดิมพันทิศทางใหม่ ๆ และจํากัดการวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบ

จากมุมมองทางเทคนิค การทะลุออกจากกรอบการซื้อขายระยะสั้นในสัปดาห์นี้เกิดขึ้นจากความแข็งแกร่งและการยอมรับไปเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 200 วัน (SMA) ที่สําคัญมากครั้งล่าสุด นอกจากนี้ ออสซิลเลเตอร์ในกราฟรายวันยังทรงตัวในแดนบวกและยังคงอยู่ห่างจากโซนซื้อมากเกินไป ซึ่งบ่งชี้ว่าเส้นทางที่มีแรงต้านน้อยที่สุดสําหรับราคาน้ำมันดิบ นั้นอยู่ในขาขึ้น 

ดังนั้น การอ่อนค่าลงที่ตามมาที่ต่ำกว่าระดับต่ำสุดของการ swing low ในช่วงข้ามคืนที่บริเวณ 82.25 ดอลลาร์ มีแนวโน้มที่จะพบแนวรับที่แข็งแกร่งใกล้ระดับ 82.00 ดอลลาร์  แล้วตามมาด้วยจุดทะลุกรอบการซื้อขายดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับที่ใกล้บริเวณระดับ $81.55 ซึ่งหากหลุดจากแนวรับนี้ไป อาจกระตุ้นให้เกิดแรงการเทขายทางเทคนิค ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวลงสู่ระดับ 81.00 ดอลลาร์/บาร์เรล และขยับเข้าหาแนวรับแนวนอนที่ราคา 80.40-80.35 ดอลลาร์

ในทางกลับกัน การเหวี่ยงตัวขึ้นกลับไปเหนือระดับ 83.00 ดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้ากับแนวต้านใกล้โซนราคา 83.75-83.80 ดอลลาร์หรือระดับสูงสุดในรอบสองเดือนที่เราได้เห็นในวันอังคาร แล้วแรงซื้อที่ตามมาบางส่วนจะนําไปสู่การขยับไปเหนือระดับ 84.00 ดอลลาร์ และจะถูกมองว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นใหม่สําหรับนักลงทุนตลาดกระทิงและทําให้ราคาน้ำมันดิบเร่งการเคลื่อนไหวเชิงบวกไปสู่แนวต้านถัดไป ก่อนถึงระดับทางจิตวิทยาที่ 85.00 ดอลลาร์

fxsoriginal

 

คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำมันดิบ WTI

น้ำมัน WTI คืออะไร?

น้ำมัน WTI เป็นน้ำมันดิบประเภทหนึ่งที่จําหน่ายในตลาดต่างประเทศ WTI ย่อมาจาก West Texas Intermediate ซึ่งเป็นหนึ่งในน้ำมันสามประเภทหลัก ได้แก่ Brent และ Dubai Crude และ WTI โดยตัว WTI เรียกอีกอย่างว่าน้ำมัน "เบา" และน้ำมัน "หวาน" เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงและปริมาณกํามะถันค่อนข้างต่ำ ตามลําดับถือเป็นน้ำมันคุณภาพสูงที่กลั่นได้ง่าย มีแหล่งที่มาในสหรัฐอเมริกาและจัดจําหน่ายผ่านศูนย์กลาง Cushing ซึ่งถือเป็น "เส้นทางเดินน้ำมันหลักของโลก" เป็นเกณฑ์มาตรฐานสําหรับตลาดน้ำมันและราคาของน้ำมัน WTI มักถูกอ้างอิงในสื่อ

ปัจจัยใดที่ผลักดันราคาน้ำมัน WTI?

เช่นเดียวกับสินทรัพย์ทั้งหมด อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของราคาน้ำมัน WTI ด้วยเหตุนี้ การเติบโตทั่วโลกจึงเป็นตัวขับเคลื่อนอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และในทางกลับกันสําหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอ ความไม่มั่นคงทางการเมือง สงคราม และการคว่ำบาตรต่าง ๆ อาจสามารถกดดันอุปทานและส่งผลกระทบต่อราคา ด้านการตัดสินใจของกลุ่มโอเปก ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนราคาที่สําคัญ และมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐก็มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดิบ WTI เนื่องจากเป็นน้ำมันมีการซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอาจทําให้น้ำมันมีราคาถูกลงมากขึ้น และในทางกลับกันด้วยเช่นกัน

ข้อมูลสินค้าคงคลังส่งผลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร

รายงานสินค้าคงคลังน้ำมันรายสัปดาห์ที่เผยแพร่โดยสถานบันปิโตรเลียมของอเมริกา หรือ American Petroleum Institute (API) และสำนักงานข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานหรือ Energy Information Agency (EIA) ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI  โดยการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าคงคลังสะท้อนถึงอุปสงค์และอุปทานที่ผันผวน หากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังลดลงอาจบ่งบอกถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น สินค้าคงเหลือที่สูงขึ้นสามารถสะท้อนถึงอุปทานที่เพิ่มขึ้น โดยรายงานของ API จะเผยแพร่ทุกวันอังคารและ EIA ในถัดไป ผลลัพธ์ของรายงานเหล่านี้มักจะคล้ายกันโดยแตกต่างกันภายใน 1% ของกันและกัน ในโอกาสราว ๆ 75%  ข้อมูลจาก EIA ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่าเนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ

OPEC มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร?

OPEC (หรือองค์การบริหารน้ำมันปิโตรเลียมของประเทศกลุ่มนักส่งออก - Organization of the Petroleum Exporting Countries) เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 13 ประเทศที่ร่วมกันกําหนดโควตาการผลิตสําหรับประเทศสมาชิกในการประชุมปีละสองครั้ง การตัดสินใจขององค์กรนี้มักส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI เมื่อโอเปกตัดสินใจลดโควต้าการผลิตอาจทําให้อุปทานตึงตัว ผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น แต่เมื่อโอเปกเพิ่มการผลิตก็มีผลตรงกันข้าม OPEC+ หมายถึงกลุ่มขยายที่มีสมาชิกนอกโอเปกเพิ่มอีกสิบประเทศ โดยประเทศที่โดดเด่นที่สุดก็คือรัสเซีย

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เนื้อหาข้างต้นทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา ไม่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อขายและไม่ควรเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจซื้อขายใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง