tradingkey.logo

WTI ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 81.00 ดอลลาร์ อยู่ใต้ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนที่ไปแตะในวันศุกร์

1 ก.ค. 2024 เวลา 9:56
  • WTI ฟื้นแรงฉุดในเชิงบวกได้ในวันจันทร์ และสิ้นสุดการปรับฐานขาลงจากระดับสูงสุดในรอบสองเดือนแล้ว
  • การคาดการณ์ถึงความต้องการเชื้อเพลิงสูงสุดในช่วงฤดูร้อน และการลดการผลิตจาก OPEC+ ในไตรมาสที่สามหนุนตลาด
  • การเก็งการลดอัตราดอกเบี้ยโดยเฟดในเดือนกันยายนกดดัน USD และดูเหมือนจะเป็นอานิสงส์ต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์นี้มากขึ้น

ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ ดึงดูดแรงการช้อนซื้อได้ในวันแรกของสัปดาห์ใหม่ และยังคงอยู่ในระยะการเข้าใกล้จุดสูงสุดในรอบสองเดือนที่ไปแตะเมื่อวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวดูเหมือนจะจํากัดอยู่ในกรอบราคาที่คุ้นเคยซึ่งมีมาเป็นเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่บริเวณช่วงกลางของโซน 81.00 ดอลลาร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.50% ในวันนี้

ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากความขัดแย้งอย่างยาวนานในตะวันออกกลางและการโจมตีโรงกลั่นของรัสเซียของยูเครน ยังคงกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของการไหลเวียนของอุปทานจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสําคัญ ๆ  นอกจากนี้ ความคาดหวังของการใช้เชื้อเพลิงที่สูงที่สุดในฤดูร้อนและการลดการผลิตจาก OPEC+ ในไตรมาสที่สามอาจนําไปสู่การขาดดุลอุปทานในตลาดน้ำมันทั่วโลก ซึ่งในทางกลับกัน ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําหน้าที่เป็นแรงหนุนต่อราคาน้ำมันดิบ

ในขณะที่ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ได้ยืนยันแนวโน้มของเงินเฟ้อที่ลดลง และเพิ่มการเก็งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ปัจจัยนี้ดึงดอลลาร์สหรัฐ (USD) ลงจากจุดสูงสุดในรอบสองเดือนที่ไปแตะมาในวันศุกร์ และเป็นปัจจัยหนุนเพิ่มเติมแก่สินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว  อย่างไรก็ดีความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจในจีนเตือนให้นักลงทุนมีความระมัดระวังโดยเฉพาะสําหรับนักลงทุนตลาดกระทิงก่อนที่จะวางออเดอร์เก็งการปรับตัวขึ้นเพิ่มเติม

ข้อมูลที่เผยแพร่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการผลิตของจีนลดลงเป็นเดือนที่สองในเดือนมิถุนายนในขณะที่กิจกรรมภาคการบริการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกตอนนี้ยังคงเปราะบาง ซึ่งอาจจํากัดการวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบ  ทำให้เทรดเดอร์อาจเลือกที่จะรอดูสถานการณ์ไปก่อน ช่วงก่อนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจระดับมหภาคที่สําคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ รวมถึงรายงาน NFP ในวันศุกร์ เพื่อเป็นสัญญาณมากขึ้นเกี่ยวกับเส้นทางของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

 

คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำมันดิบ WTI

น้ำมัน WTI คืออะไร?

น้ำมัน WTI เป็นน้ำมันดิบประเภทหนึ่งที่จําหน่ายในตลาดต่างประเทศ WTI ย่อมาจาก West Texas Intermediate ซึ่งเป็นหนึ่งในน้ำมันสามประเภทหลัก ได้แก่ Brent และ Dubai Crude และ WTI โดยตัว WTI เรียกอีกอย่างว่าน้ำมัน "เบา" และน้ำมัน "หวาน" เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงและปริมาณกํามะถันค่อนข้างต่ำ ตามลําดับถือเป็นน้ำมันคุณภาพสูงที่กลั่นได้ง่าย มีแหล่งที่มาในสหรัฐอเมริกาและจัดจําหน่ายผ่านศูนย์กลาง Cushing ซึ่งถือเป็น "เส้นทางเดินน้ำมันหลักของโลก" เป็นเกณฑ์มาตรฐานสําหรับตลาดน้ำมันและราคาของน้ำมัน WTI มักถูกอ้างอิงในสื่อ

ปัจจัยใดที่ผลักดันราคาน้ำมัน WTI?

เช่นเดียวกับสินทรัพย์ทั้งหมด อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของราคาน้ำมัน WTI ด้วยเหตุนี้ การเติบโตทั่วโลกจึงเป็นตัวขับเคลื่อนอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และในทางกลับกันสําหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอ ความไม่มั่นคงทางการเมือง สงคราม และการคว่ำบาตรต่าง ๆ อาจสามารถกดดันอุปทานและส่งผลกระทบต่อราคา ด้านการตัดสินใจของกลุ่มโอเปก ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนราคาที่สําคัญ และมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐก็มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดิบ WTI เนื่องจากเป็นน้ำมันมีการซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอาจทําให้น้ำมันมีราคาถูกลงมากขึ้น และในทางกลับกันด้วยเช่นกัน

ข้อมูลสินค้าคงคลังส่งผลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร

รายงานสินค้าคงคลังน้ำมันรายสัปดาห์ที่เผยแพร่โดยสถานบันปิโตรเลียมของอเมริกา หรือ American Petroleum Institute (API) และสำนักงานข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานหรือ Energy Information Agency (EIA) ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI  โดยการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าคงคลังสะท้อนถึงอุปสงค์และอุปทานที่ผันผวน หากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังลดลงอาจบ่งบอกถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น สินค้าคงเหลือที่สูงขึ้นสามารถสะท้อนถึงอุปทานที่เพิ่มขึ้น โดยรายงานของ API จะเผยแพร่ทุกวันอังคารและ EIA ในถัดไป ผลลัพธ์ของรายงานเหล่านี้มักจะคล้ายกันโดยแตกต่างกันภายใน 1% ของกันและกัน ในโอกาสราว ๆ 75%  ข้อมูลจาก EIA ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่าเนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ

OPEC มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน WTI อย่างไร?

OPEC (หรือองค์การบริหารน้ำมันปิโตรเลียมของประเทศกลุ่มนักส่งออก - Organization of the Petroleum Exporting Countries) เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 13 ประเทศที่ร่วมกันกําหนดโควตาการผลิตสําหรับประเทศสมาชิกในการประชุมปีละสองครั้ง การตัดสินใจขององค์กรนี้มักส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน WTI เมื่อโอเปกตัดสินใจลดโควต้าการผลิตอาจทําให้อุปทานตึงตัว ผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น แต่เมื่อโอเปกเพิ่มการผลิตก็มีผลตรงกันข้าม OPEC+ หมายถึงกลุ่มขยายที่มีสมาชิกนอกโอเปกเพิ่มอีกสิบประเทศ โดยประเทศที่โดดเด่นที่สุดก็คือรัสเซีย

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เนื้อหาข้างต้นทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา ไม่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อขายและไม่ควรเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจซื้อขายใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง