tradingkey.logo

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งขึ้นเหนือ 103.50 ขณะที่เทรดเดอร์รอข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯ

FXStreet17 ต.ค. 2024 เวลา 14:04
  • ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นมาที่บริเวณระดับ 103.60 ในช่วงต้นเซสชั่นยุโรปของวันพฤหัสบดี โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.12% ในวันนี้
  • การเก็งที่เพิ่มขึ้นว่าเฟดจะค่อย ๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยกำลังช่วยหนุนค่าเงิน USD 
  • ข้อมูลยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จะเป็นจุดสนใจหลักในวันพฤหัสบดีนี้

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ขยายการพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในกรอบหลายสัปดาห์ใกล้ 103.60 ในระหว่างเซสชั่นยุโรปในวันพฤหัสบดี ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะดําเนินการลดอัตราดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยในปีหน้ายังคงหนุนค่าเงินดอลลาร์ โดยเทรดเดอร์เตรียมพร้อมสําหรับการรายงานข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนกันยายนของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีประกาศในวันพฤหัสบดีนี้

เฟดได้เริ่มต้นฝั่งวงจรการผ่อนคลายทางนโยบายด้วยการใช้ยาแรงที่ 50 จุดพื้นฐาน (bps) ในการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน แต่ความคาดหวังของตลาดได้เปลี่ยนไปในเรื่องใช้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเฟดที่ชะลอตัวลง ด้านนางเดลี่ ประธานเฟดแห่งซานฟรานซิสโกเน้นย้ำว่า "การปรับลดดอกเบี้ยหนึ่งหรือสองครั้งเป็นอะไรที่สมเหตุสมผล"  เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันคุณ Bostic ประธานเฟดแอตแลนตาระบุว่าเขาคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อย 25 จุดพื้นฐาน (bps) ในปีนี้

Neel Kashkari ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสกล่าวเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะ "ค่อยเป็นค่อยไป" และตั้งข้อสังเกตว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายจะขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันตลาดได้กําหนดราคาเกือบ 92.1% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยที่ 25 bps ในเดือนพฤศจิกายน ตามเครื่องมือของ CME FedWatch

ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จะได้รับความสนใจในวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 0.3% MoM ในเดือนกันยายนจากระดับ 0.1% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งหากข้อมูลยังคงแข็งแกร่ง ก็ยังมีขอบเขตสําหรับการคาดการณ์การผ่อนคลายของเฟดเหล่านี้เพื่อปรับตัวต่อไป

ในทางกลับกัน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลงบ้างในตะวันออกกลางอาจจํากัดการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อทางอิสราเอลบอกกับสหรัฐฯ ว่าการโจมตีตอบโต้ใส่อิหร่านที่วางแผนไว้นั้นจะไม่มุ่งเป้าไปที่โรงงานนิวเคลียร์และโรงงานผลิตน้ำมัน ตามรายงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลไบเดนซึ่งเป็นคํามั่นสัญญาต่อทําเนียบขาวที่ต้องการป้องกันการบานปลายของความขัดแย้งในตะวันออกกลางต่อไป

US Dollar FAQs

ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นสกุลเงินที่ใช้อย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา และเป็นสกุลเงินที่ใช้ 'โดยพฤตินัย' ของประเทศอื่น ๆ จำนวนมากที่มีการหมุนเวียนควบคู่ไปกับสกุลเงินท้องถิ่น เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 88% ของมูลค่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลก หรือมีมูลค่าธุรกรรมเฉลี่ย 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวันตามข้อมูลของปี 2022 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สกุลเงิน USD เข้ามารับช่วงต่อตำแหน่งสกุลเงินสำรองของโลกจากสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษที่เป็นในประวัติศาสตร์ใหญ่ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ถูกค้ำด้วยทองคำ จนกระทั่งเกิดข้อตกลง Bretton Woods ในปี 1971 เมื่อมาตรฐานการค้ำด้วยทองคำหมดไป

ปัจจัยเดียวที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐคือนโยบายทางการเงินซึ่งกำหนดโดยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เฟดมีหน้าที่สองประการ: เพื่อให้บรรลุเสถียรภาพด้านราคา (ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ) และส่งเสริมการจ้างงานเต็มรูปแบบ เครื่องมือหลักในการบรรลุเป้าหมายทั้งสองนี้คือการปรับอัตราดอกเบี้ย เมื่อราคาต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นเร็วเกินไปและอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟด ทางเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะหนุนค่าเงิน USD แต่เมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่า 2% หรืออัตราการว่างงานสูงเกินไป เฟดอาจเลือกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อสกุลเงินดอลลาร์

ในสถานการณ์ที่รุนแรงมากจริง ๆ ทาง Federal Reserve ยังสามารถพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเพิ่มเติมและออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ได้ การทำ QE เป็นกระบวนการที่เฟดเพิ่มการไหลเวียนของสินเชื่อในระบบการเงินที่ติดขัดอยู่อย่างมาก โดยเป็นมาตรการทางนโยบายที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้เมื่อสินเชื่อหมดเนื่องจากธนาคารจะไม่ให้กู้ยืมระหว่างกัน (เพราะกลัวคู่สัญญาจะผิดนัดชำระหนี้) ก็เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อการลดอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะบรรลุผลลัพล์ที่จำเป็น ถือเป็นเครื่องทางเลือกสุดท้ายของเฟดในการต่อสู้กับวิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 2008 โดยเกี่ยวข้องกับการที่เฟดพิมพ์เงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นและใช้เงินเหล่านั้นเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงินต่าง ๆ การทำ QE มักจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง

การกระชับเชิงปริมาณ (QT) เป็นกระบวนการย้อนกลับของการทำ QE โดยที่ Federal Reserve จะหยุดซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินและไม่นำเงินต้นไปลงทุนใหม่จากพันธบัตรที่ถืออยู่เพื่อซื้อใหม่ ซึ่งมักจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เนื้อหาข้างต้นทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา ไม่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อขายและไม่ควรเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจซื้อขายใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง