ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ซื้อขายในแดนลบเป็นวันที่สองติดต่อกันที่ประมาณ 104.95 ในช่วงเซสชั่นเอเชียของวันพฤหัสบดี ซึ่งดัชนี DXY ปรับตัวลดลงแม้ว่า Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีท่าทีระมัดระวัง ด้านนักลงทุนจะจับตาดูข้อมูลเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพื่อเป็นสัญญาณผลักดันใหม่ ๆ รวมถึงรายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรายสัปดาห์ และแถลงการณ์ของราฟาเอล บอสติก (Raphael Bostic) สมาชิกธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ประธาน Powell ของ Fed กล่าวเมื่อวันพุธต่อหน้าคณะกรรมการบริการทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐว่า ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทําการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยโดยพิจารณาจากข้อมูลข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มพัฒนาการต่าง ๆ และความสมดุลของความเสี่ยง และไม่ได้คํานึงถึงปัจจัยทางการเมืองต่าง ๆ ประธานพาวเวลล์กล่าวเสริมว่า ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าเฟดจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย 2% ของเฟดอย่างยั่งยืน
ในขณะเดียวกัน Lisa Cook ผู้ว่าการ Fed อีกท่านหนึ่งกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งท่าทีที่ระมัดระวังของสมาชิกเฟดไม่สามารถหนุนค่าเงินดอลลาร์ได้ เมื่อเทรดเดอร์รอรายงานอัตราเงินเฟ้อที่สําคัญของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีกําหนดการรายงานในวันพฤหัสบดีนี้ โดยคาดว่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น 3.1% YoY ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะทรงตัวที่ 3.4% YoY
ในกรณีที่รายงานล่าสุดแสดงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานนี้อาจกดดัยต่อดัชนี DXY ต่อไป ตลาดได้กําหนดราคาในโอกาสน้อยกว่า 10% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมโดยเฟด ในขณะที่ความคาดหวังที่จะมีการปรับลดในเดือนกันยายนอยู่ที่ 73% ตามเครื่องมือ CME FedWatch Tool
ในทางกลับกัน บรรยากาศตลาดแบบหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-Off) ก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสําคัญ รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ก็อาจช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยได้อยู่บ้าง