สรุป
- เลเวอเรจคือการใช้เงินที่ยืมมาเพื่อเพิ่มสถานะในการเทรด
- นักเทรดสามารถเลือกจากช่วงของอัตราส่วนเลเวอเรจที่นําเสนอโดยผ่านโบรกเกอร์
- เลเวอเรจคือดาบสองคม มันสามารถขยายผลกําไรของคุณเช่นเดียวกับการทำให้คุณขาดทุน
เราได้พูดคุยกันก่อนหน้านี้ เลเวอเรจช่วยให้นักเทรดสามารถใช้เงินทุนขนาดเล็กเพื่อซื้อขายเงินจํานวนมากขึ้นโดยใช้เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้
เลเวอเรจและมาร์จิ้น(เงินหลักประกันที่ถูกหัก)ไว้คืออะไร
คําจํากัดความในหนังสือตามทฤษดี หมายถึงความสามารถในการควบคุมเงินจํานวนมากโดยใช้เงินทุนในการเทรดที่มีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสําคัญ (เงินฝากประกันหรือที่เรียกว่าเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ) และการยืมส่วนที่เหลือ
ตัวอย่างเช่นในการควบคุมตําแหน่งการเทรด $ 100,000 โบรกเกอร์จะกันเงิน $ 1,000 จากบัญชีของคุณเป็น เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ นอกจากนี้ยังหมายความว่าคุณกําลังควบคุมสถานะการเทรดของ $ 100,000 กับ $ 1,000 โดยทั่วไปจะแสดงในอัตราส่วนในกรณีนี้คือ 1:100 และเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการคือ 1%
เลเวอเรจ 1:100
ในกรณีส่วนใหญ่ โบรกเกอร์จะเสนออัตราส่วนเลเวอเรจที่หลากหลายซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1: 1 ถึง 1: 200 และในบางกรณีอาจสูงถึง 1: 500 โดยตารางด้านล่างจะแสดงให้เห็นว่าเลเวอเรจและเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ไปด้วยกันอย่างไร
เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการ | เลเวอเรจ |
---|---|
5% | 1:20 |
2% | 1:50 |
1% | 1:100 |
0.5% | 1:200 |
0.2% | 1:500 |
เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ที่ต้องการตามเลเวอเรจ
นี่คือสถานการณ์จําลองของวิธีการทํางานของเลเวอเรจและเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ที่มีความแตกต่างกัน
สถานการณ์สมมติที่ 1: เลเวอเรจ 1:100
หากเนักเทรดต้องการเปิดสถานะเทรดที่ $100,000 โบรกเกอร์ต้องการเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ที่ 1% ซึ่งจะเท่ากับ $1,000
สถานการณ์สมมติที่ 2: เลเวอเรจ 1:50
หากนักเทรดต้องการเปิดสถานะการเทรดที่ $100,000 โบรกเกอร์ต้องการเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ที่2% นั่นคือ $2,000
สถานการณ์สมมติที่ 3: เลเวอเรจ 1:200
หากนักเทรดต้องการเปิดสถานะการเทรดที่ $100,000 โบรกเกอร์ต้องการ เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้0.5% ซึ่งก็จะเท่ากับ $500
สิ่งนั้นส่งผลต่อฉันอย่างไร?
สมมติว่าราคาสําหรับ EUR/USD คือ 1.26837 และนักเทรดตัดสินใจทำการเทรด 1 ล็อต ซึ่งหมายความว่านักเทรดตัดสินใจเปิดสถานะในการถือระยะยาว (โดยการเปิด ซื้อ) โดยมีมูลค่า 1.268837 x 100,000 = $126,837
หากนักเทรดเลือกใช้เลเวอเรจ 1:200 ที่โบรกเกอร์แนะนำ เงินหลักประกันที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการจะเท่ากับ $126,837 x 0.5% = $634.19
EUR/USD 1.26837
| เลเวอเรจ 1:1 (ไม่มีเลเวอเรจ) | เลเวอเรจ 1:200 |
---|---|---|
จํานวนการเทรด/ปริมาณการเทรด | 1 ล็อต (100,000) | 1 ล็อต (100,000) |
จํานวนเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการ | 126,837 USD | 634.19 USD |
สังเกตว่าจํานวนเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการแตกต่างกันอย่างไร ตอนนี้สมมติว่าราคาของ EUR / USD เพิ่มขึ้น 3pips จาก 1.26837 เป็น 1.26867 ซึ่งจะเป็นจํานวนกําไรดังต่อไปนี้:
EUR/USD 1.26837 ➜ 1.26807
| เลเวอเรจ 1:1 (ไม่มีเลเวอเรจ) | เลเวอเรจ 1:200 |
---|---|---|
จํานวนการเทรด/ปริมาณการเทรด | 1 ล็อต (100,000) | 1 ล็อต (100,000) |
จํานวนเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการ | 126,837 USD | 634.19 USD |
ผลกำไร | 126,867-126,837 = 130USD | 126,867-126,837 = 130USD |
ในทํานองเดียวกันหากราคาลดลง 3pips จาก 1.26837 เป็น 1.26807
EUR/USD 1.26837 ➜ 1.26807
| เลเวอเรจ 1:1 (ไม่มีเลเวอเรจ) | เลเวอเรจ 1:200 |
---|---|---|
จํานวนการเทรด/ปริมาณการเทรด | 1 ล็อต (100,000) | 1 ล็อต (100,000) |
จํานวนเงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้ ที่ต้องการ | 126,837 USD | 634.19 USD |
การขาดทุน | 126,807-126,837 = -130USD | 126,807-126,837 = -130USD |
มีการเปรียบเทียบทั่วไปในโลกทางแห่งการเงินว่า เลเวอเรจนั้นคือดาบสองคม ถึงแม้ว่ามูลค่าการกำไรและขาดทุนของดอลลาร์จะเท่ากัน แต่เปอร์เซ็นต์ผลกําไรตามความต้องการของเงินทุนนั้นแตกต่างกันอย่างมาก
จากตัวอย่างข้างต้นโดยมีการเคลื่อนไหวของราคา 3pips
หากนักเทรดไม่ได้ใช้เลเวอเรจ (1:1) กําไร/ขาดทุนในแง่ของเปอร์เซ็นต์คือ 130 ÷ 126,837 = 0.1%
แต่ถ้านักเทรดเลือกใช้อัตราส่วนเลเวอเรจ 1:200 กําไร/ขาดทุนของนักเทรดในแง่ของเปอร์เซ็นต์จะเป็น 130 ÷ 634.19 = 20%