Investing.com - สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าเล็กน้อยในวันนี้ ขณะที่การฟื้นตัวของเงินดอลลาร์หยุดชะงักก่อนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่อาจมีผลต่อมุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
สกุลเงินในภูมิภาคกำลังเผชิญกับแรงกดดันใหม่ในสัปดาห์นี้ หลังเงินดอลลาร์ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ท่ามกลางการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแค่ไหนในปีนี้
ความกลัวเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและชาติตะวันตกที่อาจกลับมาใหม่ก็ยังทำให้ความเชื่อมั่นโดยรวมลดลงเล่นกัน
การฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ชะลอตัวก่อนข้อมูล GDP และ PCE
ดัชนีดอลลาร์ และ ดัชนีดอลลาร์ฟิวเจอร์ส ต่างขยับลง 0.1% ในตลาดเอเชีย หลังการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนเริ่มชะลอตัว
ความสนใจของตลาดใขณะนี้จึงเปลี่ยนไปที่ข้อมูล GDP ที่แก้ไขแล้วสำหรับไตรมาสที่สอง ซึ่งมีกำหนดการเผยแพร่ในวันนี้ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ
รายงานข้อมูลครั้งแรกของ GDP ในไตรมาสที่ 2 นั้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความยืดหยุ่น ทำให้เกิดความหวังว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะสามารถ soft landing ได้ แต่การเติบโตที่แข็งแกร่งก็ยังทำให้เฟดมีแรงกระตุ้นน้อยลงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมาก
ข้อมูลดัชนีราคา PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดชื่นชอบ ก็มีกำหนดการจะประกาศในวันศุกร์นี้ และมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อมุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน
เทรดเดอร์ได้แบ่งออกเป็นสองฝั่งระหว่างการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ 25 และ 50 จุดพื้นฐานในเดือนกันยายน ตามข้อมูลจากเครื่องมือ Fedwatch ของ CME
เงินเยนทรงตัว จับตาข้อมูล CPI ของโตเกียว
เงินเยนญี่ปุ่นทรงตัวในวันนี้หลังจากที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากในช่วงต้นสัปดาห์ โดยคู่เงิน USDJPY เคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 144.56 เยนหลังจากลดลงต่ำสุดถึง 143 เยนในวันอังคาร
เงินเยนได้รับแรงหนุนจากการเดิมพันว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในปีนี้ หลังจากมีสัญญาณที่ดู hawkish จากเจ้าหน้าที่ BOJ แต่ข้อมูลเงินเฟ้อจากประเทศกลับต่ำกว่าที่ BOJ คาดหวังว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสนใจในตอนนี้จึงอยู่ที่ข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ของโตเกียวในวันศุกร์นี้ รายงานดังกล่าวนั้นทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้สำคัญสำหรับเงินเฟ้อทั่วประเทศ และมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อความคาดหวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
สกุลเงินเอเชียโดยรวมรีบาวด์จากที่อ่อนค่าลงเมื่อต้นสัปดาห์
คู่เงินหยวนจีน USDCNY ลดลง 0.2% หลังได้รับแรงหนุนจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่ากึ่งกลางที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์โดยธนาคารกลางจีน
แต่ความเชื่อมั่นต่อจีนก็ยังคงเปราะบางท่ามกลางความกลัวเกี่ยวกับสงครามการค้ากับชาติตะวันตก โดยเฉพาะหลังจากที่แคนาดาเข้าร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรปในการกำหนดภาษีนำเข้าที่สูงสำหรับภาคยานยนต์ไฟฟ้าของจีน
คู่เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย AUDUSD เพิ่มขึ้น 0.3% เนื่องจากข้อมูลเงินเฟ้อ CPI สำหรับเดือนกรกฎาคมที่ค่อนข้างเหนียวแน่นทำให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางออสเตรเลียอาจมีท่าที hawkish มากขึ้น แม้ว่านักวิเคราะห์จะไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า RBA จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกก็ตาม
คู่เงินวอนเกาหลีใต้ USDKRW ขยับลง 0.1% ขณะที่คู่เงินดอลลาร์สิงคโปร์ USDSGD ลดลง 0.2%
คู่เงินรูปีอินเดีย USDINR ขยับลงเล็กน้อยหลังจากทดสอบระดับ 84 รูปีเมื่อต้นสัปดาห์