tradingkey.logo

ดอลลาร์สหรัฐฯ เห็นโมเมนตัมขาขึ้นหยุดชะงักลงจากรายงานยอดค้าปลีกสองทาง

FXStreet17 ธ.ค. 2024 เวลา 19:40
  • DXY วิ่งซื้อขายใกล้ 106.80 ในวันอังคาร
  • โฟกัสของตลาดได้เปลี่ยนไปสู่การตัดสินใจของเฟดที่กําลังจะมาถึงในวันพุธ
  • รายงานยอดค้าปลีกล้มเหลวในการเพิ่มความแข็งแกร่งของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ซึ่งวัดมูลค่าของ USD เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหนึ่ง วิ่งซื้อขายในขาขึ้นอยู่ที่ประมาณ 106.80 ในวันอังคาร เนื่องจากโมเมนตัมขาขึ้นหยุดชะงักไปหลังจากการประกาศยอดค้าปลีกในเดือนพฤศจิกายน  ตลาดยังคงให้ความสําคัญกับการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันพุธ และการปรับลดดอกเบี้ยที่ 25 bps ได้ถูกประเมินราคาไว้แล้ว

ปัจจัยเคลื่อนตลาดสรุปรายวัน: ดอลลาร์สหรัฐฯ ติดกรอบขณะที่ตลาดประเมินตัวเลขยอดค้าปลีก

  • การประชุมคณะกรรมการตลาดเปิดของรัฐบาลกลางเป็นเวลาสองวันจะเริ่มขึ้นในวันอังคาร เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ควรลดอัตราดอกเบี้ย
  • ข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนพฤศจิกายนสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย แต่ล้มเหลวในการกระตุ้นแรงซื้อดอลลาร์สหรัฐระลอกใหม่
  • ยอดค้าปลีกรายเดือนเพิ่มขึ้น 0.7% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.5% ในขณะที่ตัวเลขก่อนหน้านี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มขึ้นเป็น 0.5% จาก 0.4%
  • การเติบโตยังคงแข็งแกร่ง: โมเดลของ Nowcast ของเฟดนิวยอร์กติดตามการเติบโตในไตรมาสที่ 4 ที่ 1.9% SAAR ในขณะที่ GDPNow ของเฟดแอตแลนตาอยู่ที่ 3.3%
  • ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐานในวันพุธ โดยมีการปะเมินราคาในความน่าจะเป็นมากกว่า 95% แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจจะยังท้าทายความจําเป็นในการผ่อนคลายนโยบายในทันที

แนวโน้มทางเทคนิคของ DXY: ตัวชี้วัดต่าง ๆ ดีขึ้น แต่โมเมนตัมขาขึ้นจางหายไป

ตัวชี้วัดของดอลลาร์สหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นอย่างมากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ดัชนีดอลลาร์ยังขาดความแข็งแกร่งในการจะเข้าทดสอบโซน 107.00–108.00 อีกครั้ง เมื่อวันจันทร์  ดัชนีดอลลาร์ได้ถอยกลับลงมา แม้ว่าจะซื้อขายใกล้ระดับ 106.30 ในวันอังคาร  แต่ภาพรวมยังคงเป็นไปเชิงบวกหากสามารถทรงตัวได้อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) 20 วันได้

การเติบโตอย่างต่อเนื่องและข้อมูลของสหรัฐฯ ที่สดใสอาจทําให้สกุลเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุน แต่นักลงทุนควรระมัดระวังจนกว่าจะเห็นการทะลุเหนือระดับแนวต้านในระยะสั้นก่อน

US Dollar FAQs

ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นสกุลเงินที่ใช้อย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา และเป็นสกุลเงินที่ใช้ 'โดยพฤตินัย' ของประเทศอื่น ๆ จำนวนมากที่มีการหมุนเวียนควบคู่ไปกับสกุลเงินท้องถิ่น เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 88% ของมูลค่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลก หรือมีมูลค่าธุรกรรมเฉลี่ย 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวันตามข้อมูลของปี 2022 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สกุลเงิน USD เข้ามารับช่วงต่อตำแหน่งสกุลเงินสำรองของโลกจากสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษที่เป็นในประวัติศาสตร์ใหญ่ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ถูกค้ำด้วยทองคำ จนกระทั่งเกิดข้อตกลง Bretton Woods ในปี 1971 เมื่อมาตรฐานการค้ำด้วยทองคำหมดไป

ปัจจัยเดียวที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐคือนโยบายทางการเงินซึ่งกำหนดโดยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เฟดมีหน้าที่สองประการ: เพื่อให้บรรลุเสถียรภาพด้านราคา (ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ) และส่งเสริมการจ้างงานเต็มรูปแบบ เครื่องมือหลักในการบรรลุเป้าหมายทั้งสองนี้คือการปรับอัตราดอกเบี้ย เมื่อราคาต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นเร็วเกินไปและอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟด ทางเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะหนุนค่าเงิน USD แต่เมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่า 2% หรืออัตราการว่างงานสูงเกินไป เฟดอาจเลือกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อสกุลเงินดอลลาร์

ในสถานการณ์ที่รุนแรงมากจริง ๆ ทาง Federal Reserve ยังสามารถพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเพิ่มเติมและออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ได้ การทำ QE เป็นกระบวนการที่เฟดเพิ่มการไหลเวียนของสินเชื่อในระบบการเงินที่ติดขัดอยู่อย่างมาก โดยเป็นมาตรการทางนโยบายที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้เมื่อสินเชื่อหมดเนื่องจากธนาคารจะไม่ให้กู้ยืมระหว่างกัน (เพราะกลัวคู่สัญญาจะผิดนัดชำระหนี้) ก็เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อการลดอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะบรรลุผลลัพล์ที่จำเป็น ถือเป็นเครื่องทางเลือกสุดท้ายของเฟดในการต่อสู้กับวิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 2008 โดยเกี่ยวข้องกับการที่เฟดพิมพ์เงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นและใช้เงินเหล่านั้นเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงินต่าง ๆ การทำ QE มักจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง

การกระชับเชิงปริมาณ (QT) เป็นกระบวนการย้อนกลับของการทำ QE โดยที่ Federal Reserve จะหยุดซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินและไม่นำเงินต้นไปลงทุนใหม่จากพันธบัตรที่ถืออยู่เพื่อซื้อใหม่ ซึ่งมักจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เนื้อหาข้างต้นทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา ไม่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อขายและไม่ควรเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจซื้อขายใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง