แม้ว่าอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ จะดีดตัวขึ้น แต่เงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลงจากขาขึ้นล่าสุด เป็นปฏิกริยาตอบสนองต่อความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวมที่ดีขึ้น และความกังวลทางการเมืองในยุโรปที่ลดลงบ้าง
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ทิ้งขาขึ้นที่ทำมาสองวันติดต่อกัน ท่ามกลางการเก็งของนักลงทุนว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปี 2024 ปฏิทินเศรษฐกิจในวันที่ 18 มิถุนายนค่อนข้างวุ่นวาย สหรัฐฯ จะมีการประกาศข้อมูลยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม สินค้าคงคลังของภาคธุรกิจและดัชนีธุรกรรมระยะยาวจาก TIC นอกจากนี้ นักลงทุนจะได้ฟังความเห็นจากคนในธนาคารกลางสหรัฐฯ เช่น Cook, Barkin, Collins, Kugler, Logan, Musalem และ Goolsbee
EURUSD พอจะปรับตัวกลับขึ้นมาได้บ้างหลังจากลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์เมื่อวันศุกร์ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าแนวรับ 1.0700 ในวันที่ 18 มิถุนายน จะมีการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อขั้นสุดท้ายในยูโรโซน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจทั้งในเยอรมนีและยูโรโซน
GBPUSD ฟื้นตัวกลับขึ้นมาจากการปรับตัวลดลงติดต่อกัน และยึดพื้นที่เหนือ 1.2700 กลับคืนมาได้ ในปฏิทินศก. ของสหราชอาณาจักรในวันที่ 19 มิถุนายนคือการประกาศอัตราเงินเฟ้อ
USDJPY ยังคงรักษาแนวโน้มขาขึ้นเอาไว้ได้ดี และขึ้นไปแต่ระดับแนวต้าน 158.00 อีกครั้งในการเริ่มต้นสัปดาห์ที่ค่อนข้างเป็นสัญญาณที่ดี ในวันที่ 18 มิถุนายน ญี่ปุ่นไม่มีประกาศตัวเลขศก. สำคัญ
AUDUSD ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ที่บริเวณ 0.6600 ก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สําคัญของ RBA ในวันที่ 18 มิถุนายน RBA จะประกาศผลการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นต่อจากขาขึ้นในวันศุกร์และไปท้าทายเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 วันสําคัญเหนือระดับราคา 79.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ และการที่นักลงทุนบางส่วนกล้ารับความเสี่ยงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อราคาทองคํา และทำให้ทองคำปรับตัวลดลงเล็กน้อยในวันจันทร์ โลหะเงินได้ปรับตัวลดลงมาบ้างในวันศุกร์ และกลับมาที่ระดับต่ำสุดที่ 29.00 ดอลลาร์